วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเชื่อมต่อพื้นที่ส่วนบุคคลด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth


            เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายส่วนบุคคลบลูทูธ เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ต่ำ  เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้กันเกิดเป็นเครือข่ายชั่วคราวขนาดเล็กเรียกว่า พิโคเน็ต ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ ๑ เมกกะบิตต่อวินาที โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบบลูทูธ  ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ ได้แก่ การส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุโดยการเปลี่ยนช่วงความถี่ไปมา การค้นหาอุปกรณ์บลูทูธที่อยู่ใกล้เคียง และระเบียบวิธีในการสื่อสารที่เข้าใจกันระหว่างผู้รับและ ผู้ส่ง ทั้งนี้การพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเครือข่ายระดับบุคคลชนิดนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง เช่น บลูทูท 1.0 ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ บลูทูท 1.1 ปี พ.ศ. ๒๕๔๔  ซึ่งการสื่อสารไร้สายบลูทูธนี้ สามารถใช้งานในการแลกเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลได้ทั้งชนิดข้อความ ภาพและเสียง สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เนื่องจากใช้กำลังไฟต่ำ เช่น เครื่องพีดีเอ คอมพิวเตอร์แบบพกพา และการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน
เพื่อการสื่อสารและจัดเก็บข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยระดับการเชื่อมโยง
          การรักษาความปลอดภัยในระดับการเชื่อมโยงที่มีการจัดการในชั้นที่ต่ำกว่า (L2CAP และด้านล่าง) ก่อนที่การเชื่อมโยงจะจัดตั้งขึ้น ในระดับการเชื่อมโยงคุณสมบัติบลูทู ธ ได้กำหนดรับรองความถูกต้องทางเดียวหรือร่วมกันและการเข้ารหัสลับ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการเข้ารหัสที่ใช้แบบ 128 บิต ที่สำคัญการเชื่อมโยงความลับที่ใช้ร่วมกันโดยคู่ของอุปกรณ์ ที่สำคัญถูกสร้างขึ้นเมื่ออุปกรณ์สองเริ่มต้นการสื่อสาร ในช่วงเริ่มต้น   รหัส PIN ถูกป้อนให้กับอุปกรณ์ทั้งสองและใช้ในการสร้างคีย์การเริ่มต้นซึ่งจะถูกใช้เพื่อสร้างที่สำคัญการเชื่อมโยงความลับ ที่สำคัญการเชื่อมโยงจะถูกใช้สำหรับการตรวจสอบและเพื่อสืบทอดมาคีย์การเข้ารหัสลับ

บริการรักษาความปลอดภัย
          มีข้อแนะนำ  ดังนี้
1.       การเข้ารหัสเปิดการใช้งานของบริการ
2.       หลีกเลี่ยงการจัดเก็บไฟล์ที่เป็นความลับในโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกัน
3.       หลีกเลี่ยงการจับคู่อุปกรณ์ในสถานที่สาธารณะ
          สำหรับข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบลูทู ธ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.bluetooth.org  

ข้อสรุป 
          เทคโนโลยีไร้สายบลูทูธ   ได้รับการออกแบบทดแทนเทคโนโลยีมีสาย  ซึ่งเหมาะกับความต้องการของการเชื่อมต่อแบบ WPANs ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา, PDA, โทรศัพท์มือถือและเครื่องพิมพ์  โดยเฉพาะกับอุปกรณ์มือถือ (พีดีเอ)  เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก  มีความต้องการพลังงานต่ำและการนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น โทรศัพท์มือถือไร้สายเชื่อมต่อ WAN, นามบัตร peer-to-peer หรือแลกเปลี่ยนปฏิทินและการประสานเครือข่ายไร้สาย   การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นและการปฏิบัติการของระบบที่สนับสนุนให้อุปกรณ์ต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้และความสะดวกในการใช้งาน  Dell จึงมุ่งมั่นที่จะให้บริการโซลูชั่นบลูทู ธ ที่สามารถตอบสนองลูกค้า  ตอบสนองความต้องการได้รับการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานผ่านเครือข่าย Wi-Fi  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth สามารถดูได้ที่ www.bluetooth.com และ www.bluetooth.org

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร แบบ 360องศา

        ท่านคิดว่าหากนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร แบบ 360องศา ท่านคิดว่าจะดีหรือไม่เพราะอะไร ทั้งนี้โปรดระบุปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว
           การประเมิน 360 องศา  เป็นกระบวนการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน  ของผู้ที่ทำการประเมินจากหลายๆ แหล่ง  โดยนำคนรอบๆ ตัวมาทั้งหมด  เช่น  หัวหน้างาน  เพื่อนร่วมงาน  ผู้ใต้บังคับบัญชา และตัวเอง  ข้าพเจ้ามองว่าการนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร แบบ 360 องศา  เป็นเรื่องที่ดี  เพราะจะช่วยแก้ปัญหาการประเมินแบบระบบเดิมที่ไม่เที่ยงตรง  เนื่องจากเกิดความเกรงใจ เพราะรู้จักกันมานานหรืออคติด้านต่างๆ  แต่ถ้านำระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้น่าจะช่วยลดปัญหาตรงส่วนนี้ได้  เนื่องจากผู้ถูกประเมินไม่เห็นข้อมูลในระหว่างการประเมิน  สำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นผู้ถูกประเมินจะเกิดความหวาดระแวง  ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน  ไม่มีความสุขในการทำงาน  ซึ่งอาจทำให้งานออกมาไม่ได้  วิธีการแก้ปัญหา คือ ควรกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินตามสายงานนั้นๆ ให้ชัดเจน  ผู้ถูกประเมินจะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและมีความสุข  ผู้ประเมินก็ไม่ต้องกังวลกับการประเมิน  ซึ่งจะส่งผลทำให้การประเมินมีความเที่ยงตรงแม่นยำ  

ประโยชน์ของ GIS กับการพัฒนาอุบล



        ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย 
        จากคำขวัญของจังหวัดอุบลราชธานีที่ว่า “อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี      มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล” จะเห็นได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย  นอกจากนี้ยังมีมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย  ระบบ GIS จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำมาพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี  นำมาพัฒนาในส่วนของระบบข้อมูลเชิงแผนที่ในด้านสิ่งแวดล้อม      
ซึ่งระบบฐานข้อมูลเชิงแผนที่ด้านสิ่งแวดล้อมนี้  เป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์
เพื่อประกอบและสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัดได้  โดยมีฐานข้อมูลในเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลขเชื่อมโยงกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ภายในจังหวัด   ซึ่งสามารถให้รายละเอียดในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณสมบัติต่างๆ ในจังหวัดว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง สภาพเป็นอย่างไร  มีองค์ประกอบของสิ่งข้างเคียงอะไรบ้าง สามารถทำให้เห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนทำให้การวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพอสรุปประโยชน์ที่จะ ได้รับดังนี้
1.การแสดงแผนที่เฉพาะกิจ เพื่อแสดงกิจกรรมของประชากรในจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งแสดงตำแหน่งที่ตั้งว่ากระจายอยู่บริเวณใดบ้างสามารถมองภาพรวมของการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.การแสดงข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ว่าเป็นอะไร  อยู่ที่ไหน  มีปริมาณและคุณภาพเป็นอย่างไรหรือ มีอะไร เช่น เป็นพื้นที่ป่าไม้ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
3.การวัดและนับปริมาณ เช่น คำนวณพื้นที่ของอำเภอ ของพื้นที่นาข้าว คำนวณความยาวของถนน หรือคำนวณความหนาแน่น เป็นต้น
4. การวิเคราะห์แนวกันชนรอบจุด หรืออาณาบริเวณที่จะได้รับผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่างๆ หรือแสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการเกิดปัญหาต่างๆ 
5.การซ้อนข้อมูล หรือแผนที่หลายๆ ชั้น ทำให้ได้ข้อมูลหลายปัจจัยในพื้นที่เดียวกันสามารถวิเคราะห์สภาพพื้นที่บริเวณเดียวกันจากหลายปัจจัยได้ในเวลาอันสั้น
6.การสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สามารถให้คำตอบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น แบบจำลองความสูงของพื้นที่ ทำให้ทราบความสูงต่ำของพื้นที่    ภูมิประเทศความลาดชัน สามารถวิเคราะห์พื้นที่จะเกิดการ พังทลายดินสูง เป็นต้น
7.การปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างง่ายและมีมาตรฐาน ทำให้สามารถติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งยังสามารถเก็บรักษาและเรียกแสดงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมีความถูกต้องตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย





วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบริหารจัดการ IT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการทำงานหรือบริการของหน่วยงานต่างๆ


เว็บไซต์ที่นำเสนอคือ

จากตัวอย่างเว็บไซต์ข้างบน  เป็นเว็บไซต์สารสนเทศภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  เป็นลักษณะของการบริการแบบ E-service  เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งหมด  โดยแยกออกเป็นภูมิภาคแล้วแยกย่อยเป็นจังหวัด  และในแต่ละจังหวัดก็จะมีสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ  ซึ่งภายในสถานที่นั้นๆ ก็จะบอกถึงข้อมูลทั่วไป  การเข้าถึง ซึ่งจะกล่าวถึงความยากง่ายในการเข้าถึง  และสิ่งอำนวยความสะดวก  นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้ามาโหวตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ ได้อีกด้วย  และภายในเว็บไซต์นี้ยังมีปฏิทินการท่องเที่ยว  และให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการจัดทริปในเมนูทริปแพลนเนอร์ ซึ่งบุคคลที่จะสร้างทริปได้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน  เว็บบล็อก สามารถส่งเรื่องร้องเรียน และยังจองห้องพักได้อีกด้วย   และเว็บไซต์นี้ตอบสนองต่อนโยบายในการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

UBON be health


จากสังคมชนบทก้าวเข้าสู่สังคมเมือง ... เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และด้านอื่นๆ เข้ามามีบทบาทกับสังคมชนบทเช่นจังหวัดอุบลราชธานี  ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม    ต่างหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในชุมชนเมือง  สังคมชุมชนเมืองเต็มไปด้วยความเร่งรีบจึงไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเอง  หากดูตามสถิติของสำนักงานสาธารสุขจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว พบว่า สาเหตุของการเจ็บป่วยของประชากรจะเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินทั้งนั้น  เช่น สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก  อันดับ 1 คือ โรคระบบย่อยอาหาร  โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา อันดับ 1 คือ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน  เป็นต้น      ดังนั้น  สิ่งแรกที่จะต้องทำให้คนอุบลมีสุขภาพดี  คือ สร้างความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวเรื่องสุขภาพ  อาจจะทำเป็นแอนิเมชัน หรือหนังสั้นนำเสนอผลเสียของการไม่ดูแลสุขภาพ    แล้วเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น  วิทยุ  เป็นต้น    ขั้นตอนต่อไป คือ การสร้างจุดออกกำลังกายตามสถานที่ที่ผู้คนนิยม  ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า  ภายในที่ทำงาน  สถานศึกษาต่างๆ   เนื่องจากข้ออ้างของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกกำลังกายเพราะไม่มีเวลาเดินทาง  จึงควรยกสถานที่ออกกำลังกายมาอยู่ใกล้ๆ เครื่องออกกำลังกายแต่ละเครื่องอาจจะมีการติดตั้งโปรแกรมต่างๆหรือเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตไว้ตอบสนองกับผู้ใช้แต่ละคน  แต่ทั้งนี้ระบบแบตเตอร์รี่จะเก็บประจุจากเครื่องออกกำลังกายที่ผู้ใช้กำลังใช้อยู่นั่นเอง        และเครื่องออกกำลังกายแต่ละเครื่อง  ผู้ใช้จะเข้าใช้ผ่านทางระบบ Finger Print โดยเชื่อมกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์  นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการลืมบัตรต่างๆ แล้ว  ยังสามารถนับมาประมวลผลนับสถิติการออกกำลังกายของแต่ละคนได้อีกด้วย  จากนั้นนำสถิติดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สร้างขึ้น เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาประมวลผลและสรุปผลสุขภาพเป็นรายบุคคลต่อไป  จากนั้นผู้ใดที่มีสถิติการออกกำลังกายสูงที่สุดแล้วเมื่อโปรแกรมวิเคราะห์ออกมาแล้วว่ามีสุขภาพดีด้วย  ก็จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากทางผู้ว่าราชการจังหวัด  จากที่กล่าวมาข้าพเจ้าคิดว่า  คนอุบลจะต้องมีความสุขในการออกกำลังกายอย่างกระตือรือร้นมีชีวิตชีวาโดยใช้เวลาอย่างคุ้มค่าในการออกกำลังกายให้เป็นนิสัยแล้ว...

UBON IT Travel


 “เที่ยวก่อนใครในสยาม” จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นแบบธรรมชาติ  แบบธรรมะ  หรือแบบธรรมดา  และจากวิสัยทัศน์ที่ว่า อุบล “มหานครการท่องเที่ยวของอาเซียน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำระบบ ICT มาบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีระบบและมีประสิทธิภาพ  เริ่มจากแต่งตั้งทีมงานสำรวจและรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในแบบต่างๆ  ที่พักอาศัย  การเดินทาง  ของฝาก  อาหารการกิน  แล้วนำมาทำฐานข้อมูลแยกกลุ่มหมวดหมู่ให้ชัดเจน  และมีการแยกทริปการท่องเที่ยวในแบบต่างๆ ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ  เช่น เลือกการท่องเที่ยวเชิงธรรมะ  ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน  ระบบจะแสดงรายการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพของสถานที่ท่องเที่ยว  ระยะทาง  ข้อควรปฏิบัติ  แนะนำร้านอาหาร เป็นต้น  หากผู้ใช้บริการสนใจก็สามารถจองได้เลย  เป็นต้น  จากนั้นทำการเขียนโปรแกรมผ่านระบบออนไลน์และสามารถทำงานบนมือถือทุกระบบปฏิบัติการอีกด้วย  ในการนี้ผู้ใช้บริการที่จะเข้ามาจองจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ UBON IT Travel จึงจะสามารถใช้งาน Application ดังกล่าวได้  เราจะสามารถเก็บสถิติผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีได้อีกด้วย  

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

SET เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Web Service

SET (Secure Electronic Transaction) เป็นระบบสำหรับทำให้มั่นใจ ถึงความปลอดภัยของ ทรานแซคชันทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนเริ่มต้นโดย MasterCard, Visa, Microsoft, Netscape และ อื่น ๆ ด้วย SET ผู้ใช้จะได้รับ electronic wallet และทรานแซคชันที่นำ และตรวจสอบโดยการใช้ส่วนประกอบของ digital certificate และ digital signature ในระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และ ธนาคารของผู้ซื้อ ในวิธีที่ทำให้มั่นใจว่า มีความเป็นส่วนบุคคลและมั่นใจได้   ส่วน Web Service คือ การให้บริการการทำธุรกรรมต่างๆ โดยมีการเรียกใช้ Application อื่นร่วมด้วย    สำหรับการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันเน้นความสะดวกสบายมากขึ้น ระบบ  SET จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Web Service ยกตัวอย่างเช่น ระบบการซื้อขายสินค้าออนไลน์   เมื่อเลือกสินค้า  แล้วยืนยันการสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว  เราสามารถสั่งให้หักเงินจากบัตรเครดิตได้โดยตรง  แล้วทางผู้ขายก็จะทำการจัดส่งสินค้ามายังที่อยู่ที่เราให้ไว้  เราไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม  เสียเวลาในการเดินทางไปซื้อของเหล่านั้น  ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็เช่น  eBay ที่ใช้ระบบ Pay pal

การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญ


                จังหวัดอำนาจเจริญ  ได้รับการยกฐานะจากอำเภออำนาจเจริญ  เป็นจังหวัดอำนาจเจริญวันที่           1 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย  มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161,25 ตารางกิโลเมตร   หรือ 1,975,780 ไร่  ทิศเหนือ ติดกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหารทิศตะวันออก ติดกับ  ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามแนวฝั่งแม่น้ำโขง ด้านอำเภอชานุมาน   เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตรและติดจังหวัดอุบลราชธานี           ทิศใต้ ติดกับ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี  ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอป่าติ้ว และอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร   จังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดเล็กๆ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจแถบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างจังหวัดมุกดาหารหรือจังหวัดที่ชื่อได้ว่าเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์เมืองการศึกษาเก่าอย่างจังหวัดอุบลราชธานี   นับได้ว่าเป็นความโชคดีของจังหวัดอำนาจเจริญที่จะต้องพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการลงทุนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น   สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้จังหวัดพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและทัดเทียมกับจังหวัดอื่น  คือ การพัฒนาความรู้ทักษะด้านต่างๆ  ให้กับประชากรในจังหวัด  เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น   เดิมทีจังหวัดอำนาจเจริญไม่มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ทำให้ประชากรหลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่  จนเมื่อจบการศึกษาก็ทำงานตามเมืองใหญ่  ไม่ได้กลับมาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด  เพราะไม่มีปัจจัยดึงดูด  ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม  บริบทต่างๆ  และสิ่งสำคัญที่สุดคือ “เงิน”  ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  ผู้คนส่วนใหญ่จึงแสวงหาปัจจัยนั้น  ต่อมามีผลมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม  พ.ศ. 2539 ซึ่งอนุมัติโครงการขยายวิทยาเขตสารสนเทศของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปในส่วนภูมิภาค    เพื่อเป็นการขยายโอกาสอุดมศึกษา โดยให้ทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกจังหวัดที่เห็นสมควรจัดทำเป็นวิทยาเขตสารสนเทศ และจังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่ได้รับการคัดเลือกพร้อมๆ กับอีก 29 จังหวัดทั่วประเทศ   ต่อมาผู้ใหญ่ของทางจังหวัดได้ทำการการขับเคลื่อนให้มีการเปิดการเรียนการสอน โดยการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจังหวัดอำนาจเจริญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ และมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552  การทำสัญญาร่วมกันของทั้งสามฝ่าย   เปรียบเสมือนสัญญาที่ให้ไว้ว่า ทุกฝ่ายต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานในด้านที่ตนมีศักยภาพ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ให้เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ ต่อประชาชนทั่วไปรวมทั้งจังหวัดอำนาจเจริญ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนสามารถขยายไปถึงกลุ่มประเทศอินโดจีน  จากการขับเคลื่อนดังกล่าวทำให้จังหวัดอำนาจเจริญพัฒนาขึ้นมาอีกก้าวหนึ่ง  อย่างไรก็ตามทางจังหวัดจะต้องมีนโยบายกระตุ้นให้มี ความสำนึกรักบ้านเกิด   โดยการส่งเสริมการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของจังหวัด เช่น จังหวัดอำนาจเจริญ มีโครงสร้างเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม  ควรจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบครบวงจร   ให้นักเรียน  นักศึกษา  ผู้ที่สนใจได้เข้าศึกษาและลงมือปฏิบัติจริง   เมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้อย่างแท้จริง   อาจจะจัดตั้งศูนย์ใหญ่ประจำจังหวัด  และศูนย์ย่อยๆ ประจำอำเภอหรือตำบล  เป็นต้น  นอกจากนี้ควรมีการสำรวจความสนใจทักษะด้านต่างๆ ของประชากรในจังหวัด แล้วจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เฉพาะทักษะนั้นๆ ขึ้น  ให้ผู้เข้าศึกษาได้เข้าศึกษาตามความถนัดและ     ความสนใจ    หรืออย่างที่ทราบกันดีในปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน  อาจจะมีการสร้างเว็บไซต์   รวบรวบข้อมูลต่างๆ ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในทักษะหรือศาสตร์นั้นๆ หรือที่เรียกว่า     ปราชญ์ชาวบ้าน   ถ้าหากจะปลูกฝังตั้งแต่ระดับเยาวชนควรจะมีการสร้างสื่อการนำเสนอในเชิงของ     การ์ตูนแอนิเมชัน  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและตั้งใจที่จะเข้าไปศึกษามากขึ้น  หรืออาจจะมีการถ่ายทำ          สารคดีสั้นแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ Youtube  ซึ่งจะตอบสนองการเรียนรู้เฉพาะบุคคล  สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา  ในการนี้ทางจังหวัดจะต้องมีการปรับโครงสร้างของระบบ ICT ร่วมด้วย  ตั้งแต่    การกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วถึง  เช่น  ในหนึ่งหมู่บ้านอาจจะมีจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี 1 จุด  โดยให้โควต้าคนละ 2 ชั่วโมงต่อวัน   ซึ่งค่าใช้จ่ายในการวางระบบอาจจะสูง  แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินที่จะไหลออกจากจังหวัด  ข้าพเจ้าคิดว่ายังคงน้อยกว่ามาก

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555


จากการศึกษาแผนแม่บท ICT ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนากําลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้ มี ความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้ สารสนเทศอย่างมี วิจารณญาณและรู้เท่าทัน
                ในโลกยุคปัจจุบัน ระบบ ICT เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก  ในยุคสื่อสารไร้พรมแดนนี้  เราสามารถพบเจอกับเทคโนโลยีตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต  เช่น  มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการตรวจเพศทารกก่อนคลอด  การสื่อสารกันระหว่างประเทศ  ระบบทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ เป็นต้น  ปัจจุบันข้าพเจ้าคิดว่ามีผู้คนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์          ของประเทศมีการใช้เทคโนโลยีหรืออาจกล่าวได้ว่าประชากรชาวไทยทุกคนเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี  ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ  ยกตัวอย่างเช่น  ประชาชนที่มีสัญชาติไทยทุกคนจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน  การทำบัตรประชาชนก็นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็นการทำบัตรสมาร์ทการ์ด  ระบบบัตรคิวที่นำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาบริหารจัดการ หรือ ถ้าหากว่าไม่ได้ทำงานอยู่ในภูมิลำเนาตัวเองก็สามารถทำบัตรประชาชนออนไลน์ได้   ประชาชนบางคนไม่ทราบระบบการจัดการดังกล่าวก็กลับโดนเจ้าหน้าที่ต่อว่าให้อาย  ทำให้ไม่อยากใช้บริการในแบบดังกล่าว       แต่จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทราบว่าขณะนั้นตัวของผู้ใช้บริการเองกำลังใช้ระบบ ICT อยู่  หรือที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ คือ เทคโนโลยี Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twistter, Youtube  แม้กระทั่งนักเรียนระดับชั้นประถมยังมีเฟสบุ๊คเป็นของตนเอง และจากการที่ข้าพเจ้าปฏิบัติการสอนในระดับมัธยมศึกษา (ม.1-6)  จากการสังเกตและสอบถาม          ครูผู้สอนท่านอื่นๆ ก็พบว่าเมื่อนักเรียนเข้าห้องเรียนแล้วเปิดเครื่องเว็บไซต์แรกที่นักเรียนเข้าไปคือ www.facebook.com  และลำดับถัดมาคือ www.youtube.com   จากการสังเกตและสอบถามว่าที่นักเรียนเข้าไปเฟสบุ๊ค นักเรียนเข้าไปทำอะไร  นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่า เข้าไปดูรูปเพื่อน ดูรูปแฟนเพื่อน หาแฟนแล้วก็โพสต์ข้อความเพื่อให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็น  เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นเยอะๆ  นั่นคือสิ่งที่ตัวเขาเองพึงพอใจแล้ว   มีส่วนน้อยไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าไปคุยเรื่องงานเรื่องการบ้าน  ส่วนเว็บไซต์ยูทูป  นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่าไปดูมิวสิควิดีโอ      เพลงใหม่ๆ หรือตัวอย่างภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉาย แล้วนำไปโพสต์ในเฟสบุ๊ค   มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกันที่ตอบว่าเข้าไปดูการเทปติวหรือวิดีโอสอนการสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมต่างๆ      และเมื่อถามเจาะลึกเข้าไปอีกว่ารู้หรือไม่ว่า Social Media เหล่านี้มีไว้สำหรับทำอะไร เข้าก็จะตอบว่ามีไว้สำหรับสื่อสาร แลกเปลี่ยนกัน และจะไม่มีคำอธิบายหรือคำตอบอื่นใดนอกเหนือจากนี้เลย   นี่คือคำตอบของเด็กที่เรียนระดับมัธยมศึกษา  ซึ่งน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีมากกว่านี้   แต่ตัวครูผู้สอนเองก็ได้แต่กำชับในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ  หรือแม้กระทั่งตัวครูผู้สอนเอง  ยังคงคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบเดิมๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็ก     ไม่ได้รับสิ่งแปลกใหม่  หรือบางท่านต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการสอนใหม่โดยการนำเอาระบบ ICT มาใช้ เนื่องจากไม่มีเวลา  ผลจากภาระงานพิเศษเยอะ ไม่มีเวลาไปอบรมและก็จะได้รับคำถามว่ามีวิธีการใดที่ทำง่ายๆ แบบคนที่ไม่เคยใช้มาก่อน  ซึ่งถ้าเป็นบุคคลประเภทนี้  ท่านจะถนัดการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวมากกว่าแบบเป็นกลุ่ม  แต่บุคลากรทางด้านไอทีมีไม่มาก  จึงจำเป็นต้องอบรมเป็นกลุ่มใหญ่  ทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควรข้าพเจ้าจึงคิดว่าควรมองตั้งแต่นโยบายระดับประเทศในเรื่องของการพัฒนากำลังคน  จากที่ได้กล่าวมีข้างต้น  ปัจจุบันทุกคน  ทุกระดับ  ทุกเพศ  ทุกวัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม่มากก็น้อย  แต่ยังขาดความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก    ฉะนั้นข้าพเจ้าคิดว่าการพัฒนากำลังคนทางด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้ สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและ    รู้เท่าทัน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง    เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและ เพื่อสร้างความตระหนัก  ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมและคุ้มค่า   พร้อมกันนี้ก็จะต้องมีการพัฒนากำลังคนให้สามารถผลิต สร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้   

                                ชุลีรัชต์  ประกิ่ง
511600138