จากการศึกษาแผนแม่บท ICT ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1:
การพัฒนากําลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้
มี ความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้ สารสนเทศอย่างมี วิจารณญาณและรู้เท่าทัน
ในโลกยุคปัจจุบัน
ระบบ ICT เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ในยุคสื่อสารไร้พรมแดนนี้
เราสามารถพบเจอกับเทคโนโลยีตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต เช่น
มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการตรวจเพศทารกก่อนคลอด การสื่อสารกันระหว่างประเทศ ระบบทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ เป็นต้น ปัจจุบันข้าพเจ้าคิดว่ามีผู้คนมากกว่า 80
เปอร์เซ็นต์ ของประเทศมีการใช้เทคโนโลยีหรืออาจกล่าวได้ว่าประชากรชาวไทยทุกคนเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่น
ประชาชนที่มีสัญชาติไทยทุกคนจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
การทำบัตรประชาชนก็นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็นการทำบัตรสมาร์ทการ์ด
ระบบบัตรคิวที่นำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาบริหารจัดการ หรือ
ถ้าหากว่าไม่ได้ทำงานอยู่ในภูมิลำเนาตัวเองก็สามารถทำบัตรประชาชนออนไลน์ได้ ประชาชนบางคนไม่ทราบระบบการจัดการดังกล่าวก็กลับโดนเจ้าหน้าที่ต่อว่าให้อาย ทำให้ไม่อยากใช้บริการในแบบดังกล่าว แต่จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทราบว่าขณะนั้นตัวของผู้ใช้บริการเองกำลังใช้ระบบ
ICT อยู่
หรือที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ คือ เทคโนโลยี Social
Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twistter, Youtube แม้กระทั่งนักเรียนระดับชั้นประถมยังมีเฟสบุ๊คเป็นของตนเอง
และจากการที่ข้าพเจ้าปฏิบัติการสอนในระดับมัธยมศึกษา (ม.1-6) จากการสังเกตและสอบถาม ครูผู้สอนท่านอื่นๆ
ก็พบว่าเมื่อนักเรียนเข้าห้องเรียนแล้วเปิดเครื่องเว็บไซต์แรกที่นักเรียนเข้าไปคือ
www.facebook.com และลำดับถัดมาคือ
www.youtube.com จากการสังเกตและสอบถามว่าที่นักเรียนเข้าไปเฟสบุ๊ค
นักเรียนเข้าไปทำอะไร
นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่า เข้าไปดูรูปเพื่อน ดูรูปแฟนเพื่อน หาแฟนแล้วก็โพสต์ข้อความเพื่อให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็น เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นเยอะๆ นั่นคือสิ่งที่ตัวเขาเองพึงพอใจแล้ว มีส่วนน้อยไม่ถึง 10
เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าไปคุยเรื่องงานเรื่องการบ้าน
ส่วนเว็บไซต์ยูทูป
นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่าไปดูมิวสิควิดีโอ เพลงใหม่ๆ
หรือตัวอย่างภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉาย แล้วนำไปโพสต์ในเฟสบุ๊ค มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกันที่ตอบว่าเข้าไปดูการเทปติวหรือวิดีโอสอนการสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมต่างๆ และเมื่อถามเจาะลึกเข้าไปอีกว่ารู้หรือไม่ว่า
Social Media เหล่านี้มีไว้สำหรับทำอะไร เข้าก็จะตอบว่ามีไว้สำหรับสื่อสาร
แลกเปลี่ยนกัน และจะไม่มีคำอธิบายหรือคำตอบอื่นใดนอกเหนือจากนี้เลย นี่คือคำตอบของเด็กที่เรียนระดับมัธยมศึกษา
ซึ่งน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีมากกว่านี้ แต่ตัวครูผู้สอนเองก็ได้แต่กำชับในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ หรือแม้กระทั่งตัวครูผู้สอนเอง ยังคงคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบเดิมๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ทำให้เด็ก ไม่ได้รับสิ่งแปลกใหม่
หรือบางท่านต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการสอนใหม่โดยการนำเอาระบบ ICT มาใช้ เนื่องจากไม่มีเวลา ผลจากภาระงานพิเศษเยอะ
ไม่มีเวลาไปอบรมและก็จะได้รับคำถามว่ามีวิธีการใดที่ทำง่ายๆ
แบบคนที่ไม่เคยใช้มาก่อน
ซึ่งถ้าเป็นบุคคลประเภทนี้
ท่านจะถนัดการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวมากกว่าแบบเป็นกลุ่ม แต่บุคลากรทางด้านไอทีมีไม่มาก จึงจำเป็นต้องอบรมเป็นกลุ่มใหญ่
ทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควรข้าพเจ้าจึงคิดว่าควรมองตั้งแต่นโยบายระดับประเทศในเรื่องของการพัฒนากำลังคน จากที่ได้กล่าวมีข้างต้น ปัจจุบันทุกคน
ทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม่มากก็น้อย
แต่ยังขาดความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ฉะนั้นข้าพเจ้าคิดว่าการพัฒนากำลังคนทางด้าน ICT
และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้
สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและ รู้เท่าทัน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและ
เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมและคุ้มค่า
พร้อมกันนี้ก็จะต้องมีการพัฒนากำลังคนให้สามารถผลิต สร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ
เพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
ชุลีรัชต์ ประกิ่ง
511600138
แวะมาอ่านครับ คุณชุลีรัชต์ ^ ^
ตอบลบขอบคุณค่ะ.. มีอะไรก็แนะนำด้วยนะคะ...^_^
ลบ