นางสาวชุลีรัชต์ ประกิ่ง
5511600138
|
Information Technology
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การเชื่อมต่อพื้นที่ส่วนบุคคลด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth
เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายส่วนบุคคลบลูทูธ เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ต่ำ
เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้กันเกิดเป็นเครือข่ายชั่วคราวขนาดเล็กเรียกว่า
พิโคเน็ต ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ ๑ เมกกะบิตต่อวินาที โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบบลูทูธ
ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ ได้แก่
การส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุโดยการเปลี่ยนช่วงความถี่ไปมา การค้นหาอุปกรณ์บลูทูธที่อยู่ใกล้เคียง
และระเบียบวิธีในการสื่อสารที่เข้าใจกันระหว่างผู้รับและ ผู้ส่ง ทั้งนี้การพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเครือข่ายระดับบุคคลชนิดนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง
เช่น บลูทูท 1.0 ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
บลูทูท 1.1 ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งการสื่อสารไร้สายบลูทูธนี้ สามารถใช้งานในการแลกเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลได้ทั้งชนิดข้อความ ภาพและเสียง
สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เนื่องจากใช้กำลังไฟต่ำ เช่น เครื่องพีดีเอ
คอมพิวเตอร์แบบพกพา และการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน
เพื่อการสื่อสารและจัดเก็บข้อมูล
การรักษาความปลอดภัยระดับการเชื่อมโยง
การรักษาความปลอดภัยในระดับการเชื่อมโยงที่มีการจัดการในชั้นที่ต่ำกว่า
(L2CAP
และด้านล่าง) ก่อนที่การเชื่อมโยงจะจัดตั้งขึ้น
ในระดับการเชื่อมโยงคุณสมบัติบลูทู ธ
ได้กำหนดรับรองความถูกต้องทางเดียวหรือร่วมกันและการเข้ารหัสลับ
คุณสมบัติเหล่านี้เป็นตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการเข้ารหัสที่ใช้แบบ 128
บิต ที่สำคัญการเชื่อมโยงความลับที่ใช้ร่วมกันโดยคู่ของอุปกรณ์
ที่สำคัญถูกสร้างขึ้นเมื่ออุปกรณ์สองเริ่มต้นการสื่อสาร ในช่วงเริ่มต้น รหัส PIN ถูกป้อนให้กับอุปกรณ์ทั้งสองและใช้ในการสร้างคีย์การเริ่มต้นซึ่งจะถูกใช้เพื่อสร้างที่สำคัญการเชื่อมโยงความลับ
ที่สำคัญการเชื่อมโยงจะถูกใช้สำหรับการตรวจสอบและเพื่อสืบทอดมาคีย์การเข้ารหัสลับ
บริการรักษาความปลอดภัย
มีข้อแนะนำ ดังนี้
1.
การเข้ารหัสเปิดการใช้งานของบริการ
2.
หลีกเลี่ยงการจัดเก็บไฟล์ที่เป็นความลับในโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกัน
3.
หลีกเลี่ยงการจับคู่อุปกรณ์ในสถานที่สาธารณะ
สำหรับข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบลูทู
ธ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.bluetooth.org
ข้อสรุป
เทคโนโลยีไร้สายบลูทูธ
ได้รับการออกแบบทดแทนเทคโนโลยีมีสาย ซึ่งเหมาะกับความต้องการของการเชื่อมต่อแบบ WPANs ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา, PDA, โทรศัพท์มือถือและเครื่องพิมพ์
โดยเฉพาะกับอุปกรณ์มือถือ (พีดีเอ) เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก มีความต้องการพลังงานต่ำและการนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือไร้สายเชื่อมต่อ WAN, นามบัตร
peer-to-peer หรือแลกเปลี่ยนปฏิทินและการประสานเครือข่ายไร้สาย การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นและการปฏิบัติการของระบบที่สนับสนุนให้อุปกรณ์ต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้และความสะดวกในการใช้งาน
Dell จึงมุ่งมั่นที่จะให้บริการโซลูชั่นบลูทู
ธ ที่สามารถตอบสนองลูกค้า ตอบสนองความต้องการได้รับการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานผ่านเครือข่าย
Wi-Fi สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีไร้สาย
Bluetooth สามารถดูได้ที่ www.bluetooth.com และ www.bluetooth.org
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร แบบ 360องศา
ท่านคิดว่าหากนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร
แบบ 360องศา
ท่านคิดว่าจะดีหรือไม่เพราะอะไร ทั้งนี้โปรดระบุปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว
การประเมิน 360 องศา เป็นกระบวนการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ของผู้ที่ทำการประเมินจากหลายๆ แหล่ง โดยนำคนรอบๆ ตัวมาทั้งหมด เช่น
หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และตัวเอง ข้าพเจ้ามองว่าการนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร
แบบ 360 องศา เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยแก้ปัญหาการประเมินแบบระบบเดิมที่ไม่เที่ยงตรง เนื่องจากเกิดความเกรงใจ เพราะรู้จักกันมานานหรืออคติด้านต่างๆ แต่ถ้านำระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้น่าจะช่วยลดปัญหาตรงส่วนนี้ได้
เนื่องจากผู้ถูกประเมินไม่เห็นข้อมูลในระหว่างการประเมิน
สำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นผู้ถูกประเมินจะเกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ไม่มีความสุขในการทำงาน ซึ่งอาจทำให้งานออกมาไม่ได้ วิธีการแก้ปัญหา คือ ควรกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินตามสายงานนั้นๆ
ให้ชัดเจน
ผู้ถูกประเมินจะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและมีความสุข ผู้ประเมินก็ไม่ต้องกังวลกับการประเมิน ซึ่งจะส่งผลทำให้การประเมินมีความเที่ยงตรงแม่นยำ
ประโยชน์ของ GIS กับการพัฒนาอุบล
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
หรือ Geographic
Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น
ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS
เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล
และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย
จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้
เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย
การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้
เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
จากคำขวัญของจังหวัดอุบลราชธานีที่ว่า
“อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย
หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา
ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล”
จะเห็นได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ
1 ของประเทศไทยอีกด้วย ระบบ GIS จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำมาพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี นำมาพัฒนาในส่วนของระบบข้อมูลเชิงแผนที่ในด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งระบบฐานข้อมูลเชิงแผนที่ด้านสิ่งแวดล้อมนี้
เป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์
เพื่อประกอบและสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัดได้
โดยมีฐานข้อมูลในเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลขเชื่อมโยงกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ภายในจังหวัด
ซึ่งสามารถให้รายละเอียดในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณสมบัติต่างๆ
ในจังหวัดว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง สภาพเป็นอย่างไร
มีองค์ประกอบของสิ่งข้างเคียงอะไรบ้าง สามารถทำให้เห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนทำให้การวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพอสรุปประโยชน์ที่จะ ได้รับดังนี้
1.การแสดงแผนที่เฉพาะกิจ เพื่อแสดงกิจกรรมของประชากรในจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน
รวมทั้งแสดงตำแหน่งที่ตั้งว่ากระจายอยู่บริเวณใดบ้างสามารถมองภาพรวมของการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.การแสดงข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ว่าเป็นอะไร อยู่ที่ไหน มีปริมาณและคุณภาพเป็นอย่างไรหรือ มีอะไร เช่น เป็นพื้นที่ป่าไม้ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
3.การวัดและนับปริมาณ เช่น คำนวณพื้นที่ของอำเภอ ของพื้นที่นาข้าว คำนวณความยาวของถนน หรือคำนวณความหนาแน่น เป็นต้น
4. การวิเคราะห์แนวกันชนรอบจุด หรืออาณาบริเวณที่จะได้รับผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่างๆ หรือแสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการเกิดปัญหาต่างๆ
5.การซ้อนข้อมูล หรือแผนที่หลายๆ ชั้น ทำให้ได้ข้อมูลหลายปัจจัยในพื้นที่เดียวกันสามารถวิเคราะห์สภาพพื้นที่บริเวณเดียวกันจากหลายปัจจัยได้ในเวลาอันสั้น
6.การสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สามารถให้คำตอบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น แบบจำลองความสูงของพื้นที่ ทำให้ทราบความสูงต่ำของพื้นที่ ภูมิประเทศความลาดชัน สามารถวิเคราะห์พื้นที่จะเกิดการ พังทลายดินสูง เป็นต้น
7.การปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างง่ายและมีมาตรฐาน ทำให้สามารถติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังสามารถเก็บรักษาและเรียกแสดงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมีความถูกต้องตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การบริหารจัดการ IT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการทำงานหรือบริการของหน่วยงานต่างๆ
เว็บไซต์ที่นำเสนอคือ
จากตัวอย่างเว็บไซต์ข้างบน เป็นเว็บไซต์สารสนเทศภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เป็นลักษณะของการบริการแบบ E-service เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งหมด
โดยแยกออกเป็นภูมิภาคแล้วแยกย่อยเป็นจังหวัด
และในแต่ละจังหวัดก็จะมีสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ ซึ่งภายในสถานที่นั้นๆ
ก็จะบอกถึงข้อมูลทั่วไป การเข้าถึง
ซึ่งจะกล่าวถึงความยากง่ายในการเข้าถึง
และสิ่งอำนวยความสะดวก
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้ามาโหวตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ
ได้อีกด้วย และภายในเว็บไซต์นี้ยังมีปฏิทินการท่องเที่ยว และให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการจัดทริปในเมนูทริปแพลนเนอร์
ซึ่งบุคคลที่จะสร้างทริปได้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน เว็บบล็อก สามารถส่งเรื่องร้องเรียน
และยังจองห้องพักได้อีกด้วย
และเว็บไซต์นี้ตอบสนองต่อนโยบายในการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
UBON be health
จากสังคมชนบทก้าวเข้าสู่สังคมเมือง
... เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และด้านอื่นๆ เข้ามามีบทบาทกับสังคมชนบทเช่นจังหวัดอุบลราชธานี
ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม ต่างหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในชุมชนเมือง สังคมชุมชนเมืองเต็มไปด้วยความเร่งรีบจึงไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเอง หากดูตามสถิติของสำนักงานสาธารสุขจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
พบว่า สาเหตุของการเจ็บป่วยของประชากรจะเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินทั้งนั้น เช่น สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก อันดับ 1 คือ โรคระบบย่อยอาหาร โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
อันดับ 1 คือ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน
เป็นต้น ดังนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำให้คนอุบลมีสุขภาพดี คือ
สร้างความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวเรื่องสุขภาพ
อาจจะทำเป็นแอนิเมชัน หรือหนังสั้นนำเสนอผลเสียของการไม่ดูแลสุขภาพ แล้วเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น วิทยุ
เป็นต้น ขั้นตอนต่อไป คือ
การสร้างจุดออกกำลังกายตามสถานที่ที่ผู้คนนิยม
ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า
ภายในที่ทำงาน สถานศึกษาต่างๆ เนื่องจากข้ออ้างของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกกำลังกายเพราะไม่มีเวลาเดินทาง จึงควรยกสถานที่ออกกำลังกายมาอยู่ใกล้ๆ เครื่องออกกำลังกายแต่ละเครื่องอาจจะมีการติดตั้งโปรแกรมต่างๆหรือเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตไว้ตอบสนองกับผู้ใช้แต่ละคน
แต่ทั้งนี้ระบบแบตเตอร์รี่จะเก็บประจุจากเครื่องออกกำลังกายที่ผู้ใช้กำลังใช้อยู่นั่นเอง และเครื่องออกกำลังกายแต่ละเครื่อง ผู้ใช้จะเข้าใช้ผ่านทางระบบ Finger Print โดยเชื่อมกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการลืมบัตรต่างๆ แล้ว ยังสามารถนับมาประมวลผลนับสถิติการออกกำลังกายของแต่ละคนได้อีกด้วย จากนั้นนำสถิติดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สร้างขึ้น เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาประมวลผลและสรุปผลสุขภาพเป็นรายบุคคลต่อไป
จากนั้นผู้ใดที่มีสถิติการออกกำลังกายสูงที่สุดแล้วเมื่อโปรแกรมวิเคราะห์ออกมาแล้วว่ามีสุขภาพดีด้วย ก็จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากทางผู้ว่าราชการจังหวัด
จากที่กล่าวมาข้าพเจ้าคิดว่า
คนอุบลจะต้องมีความสุขในการออกกำลังกายอย่างกระตือรือร้นมีชีวิตชีวาโดยใช้เวลาอย่างคุ้มค่าในการออกกำลังกายให้เป็นนิสัยแล้ว...
UBON IT Travel
“เที่ยวก่อนใครในสยาม”
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบบธรรมชาติ แบบธรรมะ
หรือแบบธรรมดา และจากวิสัยทัศน์ที่ว่า
อุบล “มหานครการท่องเที่ยวของอาเซียน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำระบบ ICT มาบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีระบบและมีประสิทธิภาพ เริ่มจากแต่งตั้งทีมงานสำรวจและรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในแบบต่างๆ
ที่พักอาศัย การเดินทาง
ของฝาก อาหารการกิน แล้วนำมาทำฐานข้อมูลแยกกลุ่มหมวดหมู่ให้ชัดเจน และมีการแยกทริปการท่องเที่ยวในแบบต่างๆ
ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ เช่น
เลือกการท่องเที่ยวเชิงธรรมะ ระยะเวลา 3
วัน 2 คืน ระบบจะแสดงรายการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพของสถานที่ท่องเที่ยว ระยะทาง
ข้อควรปฏิบัติ แนะนำร้านอาหาร เป็นต้น หากผู้ใช้บริการสนใจก็สามารถจองได้เลย เป็นต้น
จากนั้นทำการเขียนโปรแกรมผ่านระบบออนไลน์และสามารถทำงานบนมือถือทุกระบบปฏิบัติการอีกด้วย ในการนี้ผู้ใช้บริการที่จะเข้ามาจองจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ
UBON IT Travel จึงจะสามารถใช้งาน Application ดังกล่าวได้ เราจะสามารถเก็บสถิติผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีได้อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)